ในช่วงที่ทั่วโลกได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่มีความผันผวน ทำให้เป็นช่วงจังหวะที่มิจฉาชีพเข้ามาแทรกแซง สร้างข่าวหลอกการลงทุนแอบอ้างชื่อบริษัทและหน่วยงานต่างๆ มากมาย รวมไปถึง ข่าวปลอม ปตท. ที่ยังคงระบาดหนักในโลกออนไลน์ ทำให้มีผู้หลงเชื่อและได้รับความเสียหายจำนวนไม่น้อย สำหรับข่าวปลอม ปตท. มาพร้อมสารพัดกลลวง ไม่ว่าจะเป็นปตท. ชวนลงทุน ในหุ้นระดับโลกด้วยเงิน 1,000 บาท ได้ผลกำไร 100% หรือ ซื้อหุ้นปตท. จะได้รับสิทธิ์จอง OR แต่ไม่ว่ามิจฉาชีพจะมามุกไหน พี่วาฬขอย้ำว่า อย่าได้หลงเชื่อ ข่าวปลอม ปตท. เหล่านี้เป็นอันขาด
พอเห็นข่าวปลอม ปตท. ที่มีการแอบอ้างในหลายรูปแบบขนาดนี้ พี่วาฬต้องไปตามค้นดู ข่าวปลอม ปตท. ว่าที่ผ่านมา มิจฉาชีพชอบใช้ไม้ไหนในการหลอกคนให้หลงเชื่อ พี่วาฬขอสรุปเป็น 3 เทคนิคในการเช็กและป้องกันตัวจากมิจฉาชีพโดยเฉพาะพวกที่ฉวยโอกาสจากข่าวปลอม ปตท.แอบอ้างว่า ปตท. ชวนลงทุน มาเล่าให้ทุกคนได้ระวังตัวกัน
อย่าไว้ใจ เพียงเพราะเห็นชื่อผู้มีชื่อเสียง บริษัทเอกชน หรือโลโก้ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน มาชักชวนให้ลงทุน ผ่านทางโซเชียลมีเดียเป็นอันขาด เพราะมิจฉาชีพส่วนใหญ่มักหลอกให้คนหลงเชื่อด้วยการแอบอ้างชื่อของหน่วยงานซึ่งเป็นที่รู้จักและมีความน่าเชื่อถือ จึงไม่แปลกที่เรามักเห็นว่ามีทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนถูกนำชื่อไปแอบอ้างบ่อยๆ ชื่อของปตท. นี่บ่อยมากมักถูกนำไปสร้างข่าวปลอม ปตท.อ้างว่าปตท. ชวนลงทุน ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งพี่วาฬบอกเลยว่า เป็นข่าวปลอม ปตท. ที่ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
เอะใจไว้ก่อน หนึ่งในกลโกงยอดฮิตของมิจฉาชีพ คือการเอาผลตอบแทนก้อนโตมาล่อให้ติดกับ เพราะฉะนั้นถ้ามีใครมาชวนลงทุนด้วยเงินหลักร้อยแล้วได้ผลตอบแทนหลักหมื่น ให้สันนิษฐานว่า หลอกมากกว่าจริง
พอพูดถึงเรื่องนี้ พี่วาฬก็คิดถึงเคสข่าวปลอม ปตท. ที่มีการชวนเชื่อว่า ปตท. ชวนลงทุน เปิดพอร์ตซื้อหุ้น เริ่มต้นเพียง 1,000 บาท รับเงินปันผล 30,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเคสนี้ เห็นได้ชัดว่า เข้าข่ายข่าวปลอม ปตท. อย่างไม่ต้องสงสัย ตั้งใจนำผลตอบแทนมาล่อ เพราะโดยทั่วไปคงไม่มีบริษัทไหนมาการันตีว่า ลงทุนแล้วจะจ่ายปันผลรายเดือน แถมยังกล้าเคลมว่าจะจ่ายในอัตราที่สูงถึงเดือนละ 2900%
อย่าโอนเงินให้ใคร ถ้าไม่ชัวร์ โลกโซเชียลทำให้มิจฉาชีพอยู่รอบตัวเรามากขึ้นก็จริง แต่ก็เป็นโล่ป้องกันเรามิจฉาชีพด้วยเช่นกัน เพราะถ้ามีคนแปลกหน้ามาชวนลงทุน ต่อให้เป็นชื่อที่คุ้นเคยอย่าง ปตท. ชวนลงทุน ก็ต้องเช็กให้ชัวร์ก่อนว่า หน่วยงานที่กล่าวอ้างมีการเชิญชวนให้ลงทุนจริงหรือเปล่า วิธีเช็กง่ายๆ ก็แค่กดเข้ากูเกิล หาเว็บไซต์ทางการของบริษัท หรือเบอร์ Call Center แล้วดูว่าหน่วยงานนั้น มีการเชิญชวนให้ลงทุนจริงหรือไม่ ที่สำคัญ อย่ามองข้ามรายละเอียดอย่างชื่อบัญชีที่ใช้ในการทำธุรกรรม ถ้าเป็นชื่อบุคคลแทนที่จะเป็นชื่อหน่วยงาน โอกาสถูกหลอกก็เป็นไปได้สูง
ส่วนใครที่กังวลว่า ข่าวปลอม ปตท. ที่เจอนั้น จริงหรือหลอก ก็สามารถเช็คและตรวจสอบได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสอบถามไปที่หน่วยงานโดยตรง โทร 1365 Contact Center แอปพลิเคชัน PTT Insight หรือเว็บไซต์ปตท. กดไปที่หัวข้อ “ข่าวปลอม”
พี่วาฬขอให้ทุกคนปลอดภัยจากการตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพที่หวังใช้ประโยชน์จากข่าวปลอม ปตท. กันนะ
อ้างอิง :
https://www.bangkokbiznews.com/news/1017555
https://www.tcc.or.th/tcc_media/23092565_inventor_info/
https://www.antifakenewscenter.com/การเงิน-หุ้น/ข่าวปลอม-อย่าแชร์-ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและปตท-เปิดลงทุนหุ้นยักษ์ใหญ่ด้วยการสร้างพอร์ตในตลาดหลักทรัพย์-ให้กำไรมากถึง-70/
https://www.antifakenewscenter.com/การเงิน-หุ้น/ข่าวปลอม-อย่าแชร์-ปตท-เปิดพอร์ตลงทุน-ซื้อหุ้น-เริ่มต้นเพียง-1000-บาท-รับเงินปันผล-30000-บาทต่อเดือน/
https://www.antifakenewscenter.com/การเงิน-หุ้น/ข่าวปลอม-อย่าแชร์-ปตท-ให้ลงทุนหุ้นระดับโลก-ด้วยเงิน-1000-บาท-และซื้อหุ้นปตท-ได้รับสิทธิ์จอง-or/
https://www.antifakenewscenter.com/การเงิน-หุ้น/ข่าวปลอม-อย่าแชร์-ปตท-เชิญชวนร่วมลงทุน-ได้ผลกำไร-100/