การศึกษา

“พะเยา” ก้าวไปอีกขั้น เตรียมผลักดันสู่ “เมืองแห่งการเรียนรู้“ ยูเนสโก

Pinterest LinkedIn Tumblr

“พะเยา” ก้าวไปอีกขั้น เตรียมผลักดันสู่ “เมืองแห่งการเรียนรู้“ ยูเนสโก, Whale Energy Station

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ม.พะเยาเผยผลการดำเนินงาน 6 เดือน โครงการพัฒนาเมืองพะเยาสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ คาดภายในปี 2565 ต้องขึ้นทะเบียน Learning city ของยูเนสโก ได้แน่นอน

รศ.ดร.เสมอ ถาน้อย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพะเยา กล่าวว่าโครงการ พะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ เป็นหนึ่งในชุดโครงการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้บนพื้นที่เทศบาลเมืองพะเยาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

รศ.ดร.เสมอ ถาน้อย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพะเยา กล่าวว่าโครงการ พะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ เป็นหนึ่งในชุดโครงการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้บนพื้นที่เทศบาลเมืองพะเยาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

“พะเยา” ก้าวไปอีกขั้น เตรียมผลักดันสู่ “เมืองแห่งการเรียนรู้“ ยูเนสโก, Whale Energy Station

โดยเป็นการทำงานร่วมกันของ มหาวิทยาลัยพะเยา และเทศบาลเมืองพะเยา ในการประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อเข้ามาร่วมกันพัฒนาเมืองพะเยา เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ โดยนำความรู้จาก โครงการ “1 คณะ 1 สัญลักษณ์ความสำเร็จ” ของ ม.พะเยา มาต่อยอด เพื่อพัฒนาเทศบาลเมืองพะเยาไปสู่การขึ้นทะเบียน “เมืองแห่งการเรียนรู้” (Learning city) ของยูเนสโก จึงได้เอาเกณฑ์ของยูเนสโกเข้ามาผสมผสานกับการดำเนินงาน 3 ส่วนคือ การพัฒนาระบบบริหารจัดการ การสร้างเครื่องมือแห่งการเรียนรู้ และการออกแบบพื้นที่แห่งการเรียนรู้

“พะเยา” ก้าวไปอีกขั้น เตรียมผลักดันสู่ “เมืองแห่งการเรียนรู้“ ยูเนสโก, Whale Energy Station

ผศ.ดร.สันติวัฒน์ พิทักษ์ผล ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยพะเยา หัวหน้าโครงการเปิดเผยถึงผลการดำเนินงานว่าปีแรก (พ.ศ. 2563) ว่า ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ หนึ่ง สร้างการรับรู้และสร้างเครือข่ายการดำเนินงานโดยทบทวนสถานการณ์ปัจจุบันและศึกษาความต้องการของชุมชนวิเคราะห์ช่องว่างของชุมชนไปพร้อมกัน และ สอง พัฒนากลไกการจัดการและออกแบบพื้นที่การเรียนรู้เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงของชุมชน

ทั้งนี้การดำเนินงานในปีที่ 2 ที่กำลังเกิดขึ้น จะเป็นการยกระดับเครือข่ายของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของระบบและกลไกการจัดการรวมถึงสร้างโอกาสในการเข้าถึงให้ครอบคลุมขึ้น และการดำเนินงานในปีที่ 3 จะทำเรื่องการส่งเสริมการเรียนรู้ในเมืองเพื่อยกระดับเมืองพะเยาไปสู่ Green city Smart city และ Learning city

“พะเยา” ก้าวไปอีกขั้น เตรียมผลักดันสู่ “เมืองแห่งการเรียนรู้“ ยูเนสโก, Whale Energy Station

“ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความสำเร็จของการเรียนรู้ก็คือการเข้าถึงการเรียนรู้ ดังนั้นเราจึงมีกลไกตั้งแต่ในมหาวิทยาลัยที่มีการตั้งคณะกรรมการดำเนินงานขับเคลื่อนกลไก ในส่วนของเทศบาลเมืองพะเยาได้กำหนดให้มีตัวชี้วัดสำคัญในการพิจารณาการทำงานของบุคลากร ขณะที่ภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการหนุนเสริมกลไกและกระบวนการอย่างมีระบบตั้งแต่การวางแผน การประชาสัมพันธ์ การสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและกิจกรรมย่อย ๆ เพื่อสร้างความตื่นตัวและการรับรู้ของผู้คนในเมืองพะเยา

“ส่วนกระบวนการเรียนรู้ได้จัดหลักสูตรการเรียนรู้ที่ครอบคลุมทั้งกลุ่มเด็ก ผู้สูงวัย คนด้อยโอกาส ผลแห่งการจัดการเรียนรู้ได้ทำให้เกิดทัศนคติใหม่ ได้องค์ความรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21 ชุมชนเข้าใจตัวเองและเข้าใจคนอื่น เกิดการรวมกลุ่มของกลุ่มใหม่ๆ เกิดรายได้จากการสร้างงาน ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มขีดความสามารถให้กับกำลังคนของเมืองพะเยา”

“พะเยา” ก้าวไปอีกขั้น เตรียมผลักดันสู่ “เมืองแห่งการเรียนรู้“ ยูเนสโก, Whale Energy Station

ด้านนางสาวจุฬาสินี โรจนคุณกำจร นายกเทศมนตรีเมืองพะเยา เปิดเผยว่า กิจกรรมในโครงการ Learning City นั้น สามารถสร้างประโยชน์กับคนในชุมชนเมืองพะเยาได้ตั้งแต่เด็กนักเรียนที่ได้รู้จักรากเหง้าของตนเองจากปราชญ์ชาวบ้าน ตลอดจนผู้สูงอายุที่นำทักษะที่ได้รับไปผลิตขายเป็นรายได้เสริม ซึ่งในส่วนของทางเทศบาลเมืองพะเยาได้มองถึงการต่อยอดไว้ ด้วยการจะขยายผลของการฝึกอาชีพให้หลากหลาย ทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้เข้าถึงคนพะเยาได้มากยิ่งขึ้น และผลักดันให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง

“พะเยา” ก้าวไปอีกขั้น เตรียมผลักดันสู่ “เมืองแห่งการเรียนรู้“ ยูเนสโก, Whale Energy Station

ขณะที่ รศ.ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา กล่าวในตอนท้ายว่า มหาวิทยาลัย ได้มีการปรับบริบทการเรียนการสอนให้เหมาะกับทุกช่วงวัย ทุกช่วงยุคเน้นการบูรณาการศาสตร์ เพื่อพัฒนาศักยภาพคน ซึ่งมีปลายทางที่ชัดเจนนั่นคือ “พะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้” หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการรวมพลังของทุกภาคส่วนจะทำให้เมืองพะเยา และประเทศสามารถเดินไปสู่จุดหมายที่วางไว้ โดยเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ ม.พะเยาและ บพท.จะได้ถอดบทเรียนการดำเนินโครงการฯ เพื่อนำความสำเร็จไปขยายผลในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศต่อไป

สำหรับตัวเมืองพะเยานั้น มีสิ่งน่าสนใจสำคัญ ๆ ได้แก่

-“วัดศรีโคมคำ” หรือ “วัดพระเจ้าตนหลวง” สถานที่ประดิษฐาน “พระเจ้าตนหลวง” พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในล้านนา หน้าตักกว้าง 14 เมตร สูง 17 เมตร

“พะเยา” ก้าวไปอีกขั้น เตรียมผลักดันสู่ “เมืองแห่งการเรียนรู้“ ยูเนสโก, Whale Energy Station

พระเจ้าตนหลวงเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองพะเยา ซึ่งว่ากันว่าใครมาเยือนพะเยาแล้วไม่ได้ไปกราบสักการะพระเจ้าตนหลวงนั้นเหมือนกับว่ายังมาไม่ถึงพะเยาโดยสมบูรณ์

-“กว๊านพะเยา” อีกหนึ่งสัญลักษณ์ของจังหวัดพะเยา เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ ที่นอกจากจะเป็นดังเส้นเลือดหลักของเมืองพะเยาแล้ว ที่นี่ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันโดดเด่นที่ขึ้นชื่อในเรื่องของทัศนียภาพอันงดงาม รวมไปถึงวัดสำคัญกลางน้ำอย่างวัดติโลกอาราม

-“วัดติโลกอาราม” ตั้งอยู่กลางกว๊านพะเยา เป็นที่ประดิษฐานของ “หลวงพ่อศิลา” หนึ่งในพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองพะเยา

“พะเยา” ก้าวไปอีกขั้น เตรียมผลักดันสู่ “เมืองแห่งการเรียนรู้“ ยูเนสโก, Whale Energy Station

หลวงพ่อศิลา หรือ “พระเจ้ากว๊าน” เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ที่เคยจมอยู่ใต้น้ำเมื่อครั้งสร้างทำนบกักเก็บน้ำ ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2526 จะมีการขุดค้นพบท่าน ซึ่งภายหลังในปี 2550 ทางจังหวัดพะเยาได้อัญเชิญหลวงพ่อศิลาให้มาประดิษฐานเป็นองค์พระประธานของวัดติโลกการามหลังการบูรณะใหม่

ผู้ที่มาแอ่วกว๊านพะเยาสามารถนั่งเรือแจวพื้นบ้านจากฝั่งท่าเรือวัดติโลกอาราม เพื่อไปไปสักการะองค์หลวงพ่อศิลา ท่ามกลางบรรยากาศสุดฟินของสายน้ำขุนเขาอันงดงาม นับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่เราไม่เคยพลาดเมื่อมีโอกาสได้มาเยือนกว๊านพะเยา

“พะเยา” ก้าวไปอีกขั้น เตรียมผลักดันสู่ “เมืองแห่งการเรียนรู้“ ยูเนสโก, Whale Energy Station

ขณะที่สิ่งน่าสนใจอื่น ๆ บริเวณกว๊านพะเยานั้นก็มี“อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง” กษัตริย์องค์สำคัญแห่งอาณาจักรภูกามยาว (เมืองพะเยาในสมัยโบราณ) ให้เราได้เคารพสักการะกัน ส่วนฝั่งตรงข้ามอนุสาวรีย์เป็นที่ตั้งของรูปปั้น “พญานาคคู่” แลนด์มาร์คสำคัญของกว๊านพะเยา

พญานาคคู่นี้อ้างอิงมาจากตำนานพญานาคแห่งกว๊านพะเยา ซึ่งในช่วงยามเย็นที่สวนริมกว๊านจะดูคึกคักมากไปด้วยสีสัน ทั้งจากผู้ที่มาท่องเที่ยว พักผ่อน ออกกำลังกาย ชมวิว และมาเฝ้าชมพระอาทิตย์ตกดินที่ถือเป็นช่วงเวลาไฮไลท์ของที่นี่

“พะเยา” ก้าวไปอีกขั้น เตรียมผลักดันสู่ “เมืองแห่งการเรียนรู้“ ยูเนสโก, Whale Energy Station

นอกจากองค์พระเจ้าตนหลวงและกว๊านพะเยาแล้ว ในเขตเมืองพะเยายังมีสิ่งน่าสนใจชวนเที่ยวชม อย่างเช่น “หอวัฒนธรรมนิทัศน์” สถานที่จัดแสดงศิลปวัตถุสำคัญของพะเยาและล้านนาในรูปแบบพิพิธภัณฑ์, “วัดพระธาตุจอมทอง” สถานที่ประดิษฐาน “พระธาตุจอมทอง” พระธาตุศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองพะเยา และ “วัดศรีอุโมงค์คำ” หรือ “วัดสูง” อันเป็นที่ประดิษฐานของ “หลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์” พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่ามีพุทธลักษณะที่งดงามที่สุดองค์หนึ่งแห่งดินแดนล้านนา

และนี่ก็เป็นมนต์เสน่ห์บางส่วนของพะเยา จังหวัดเล็ก ๆ ที่สงบ สวยงาม น่ารัก ซึ่งจัดอยู่ในประเภท “จิ๋วแต่แจ๋ว” หรือ “Small is Beautiful” ที่แฝงเร้นไปด้วยสิ่งน่าสนใจมากมายชวนให้ค้นหา