รู้หรือไม่? ใช้ไฟฟ้าคนละเวลา ก็คำนวณราคาต่างกันได้นะ! ⚡️
วันนี้พี่วาฬมีเกร็ดความรู้เรื่อง “มิเตอร์แบบ TOU” หรือ Time of Use Tariff ที่เป็นการคำนวณค่าไฟของเราตามช่วงเวลาการใช้งาน! ที่จะต่างจากการคำนวณของมิเตอร์ไฟฟ้าแบบทั่วไป 🕚💡
ซึ่งการคิดอัตราค่าไฟที่คิดตามช่วงเวลาการจะแบ่งเป็น 2 ช่วงหลัก ๆ ถ้าช่วงเวลาไหนที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าเยอะ ก็จะยิ่งใช้ต้นทุนในการผลิตเยอะขึ้น ทำให้ค่าไฟเพิ่มขึ้นนั่นเอง
🔴 ช่วง Peak คือช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้ามาก ทำให้อัตราค่าไฟเพิ่มขึ้น
ซึ่งจะอยู่ในช่วงวันจันทร์ -ศุกร์ เวลา 09:00-22:00 น.
🟢 ช่วง Off-Peak คือช่วงเวลาที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าน้อย จะทำให้อัตราค่าไฟถูกลง
จะอยู่ในช่วงวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 22:00-09:00 น.
และวันเสาร์ – อาทิตย์ รวมถึงช่วงวันหยุดตลอดทั้งวัน
และในปี 2568 นี้ไทยเจอพีคไฟฟ้าครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2568 ที่ 34,620 เมกะวัตต์
และคาดว่าปีนี้ยอดใช้ไฟฟ้าสูงสุดอาจแตะถึงระดับ 36,792.1 เมกะวัตต์เลยล่ะ 🔥
ถ้าใครรู้สึกว่าค่าไฟเพิ่มขึ้นลองขยับเวลาใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้ามาอยู่ในช่วง Off-Peak อาจจะช่วยลดค่าไฟได้
แถมยังช่วยลดภาระการผลิตไฟด้วยนะ ทั้งประหยัดไฟและยังช่วยโลกได้อีกด้วยนะ 🌍
ที่มา :