ข่าวพลังงาน น้ำมัน

พี่วาฬตอบข้อสงสัยทำไมราคาน้ำมันขึ้นและน้ำมันแพง?

Pinterest LinkedIn Tumblr

พี่วาฬตอบข้อสงสัยทำไมราคาน้ำมันขึ้นและน้ำมันแพง?, Whale Energy Stationหลายคนมีคำถามพี่วาฬเยอะมากว่าทำไมราคาน้ำมันขึ้นและน้ำมันแพง หรือที่จริงแล้วมีองค์กรหรือใครที่สามารถควบคุมโครงสร้างราคาน้ำมันไทยให้สูงขึ้นและราคาแพงขึ้นเพื่อประโยชน์ของตัวเองหรือเปล่านะ วันนี้พี่วาฬก็เลยอยากมาอธิบาย บอกเลยว่ามีหลายปัจจัยมากเลย และถ้าได้อ่านจนจบบอกเลยว่าจะต้องเข้าใจประเด็นทำไมราคาน้ำมันขึ้นและน้ำมันแพงขึ้นอย่างแน่นอนเลยล่ะ

 

ปัจจัยที่มีผลต่อการขึ้น-ลงของราคาน้ำมัน

พี่วาฬตอบข้อสงสัยทำไมราคาน้ำมันขึ้นและน้ำมันแพง?, Whale Energy Station

ถ้าเราจะคุยกันในประเด็นที่ว่าทำไมราคาน้ำมันขึ้นและน้ำมันแพง เราก็ต้องมาดูก่อนว่าที่จริงแล้วมีปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลต่อราคาน้ำมัน โดยสิ่งที่ทำให้ราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงนั้นประกอบไปด้วย 6 ปัจจัย ประกอบด้วย

ปัจจัยที่ 1 คือสภาพเศรษฐกิจโลก ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด โดยความสัมพันธ์ของสภาพเศรษฐกิจโลกจะสอดคล้องราคาน้ำมัน เนื่องจากถ้าเศรษฐกิจโลกเติบโตจะทำให้ความต้องการน้ำมันจะสูงขึ้น นั่นจึงเป็นสาเหตุให้ราคาน้ำมันแพงขึ้นตาม 

ปัจจัยที่ 2 คือกำลังการผลิตของผู้ผลิตน้ำมันและโรงกลั่น โดยถ้าในขณะนั้นกำลังการผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการใช้น้ำมัน จะเป็นผลให้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น เช่น สถานการณ์การฟื้นตัวจากโควิด-19 ทำให้ความต้องการน้ำมันสูงขึ้น แต่การผลิตนั้นไม่สามารถผลิตได้ตามความต้องการ จึงทำให้ราคาน้ำมันขณะนั้นแพงขึ้นนั่นเอง แต่ในขณะเดียวกันถ้าความต้องการลดลงน้อยกว่ากำลังการผลิต หรือหากผู้ผลิตน้ำมันปรับเพิ่มอัตราการผลิต ทำให้มีปริมาณน้ำมันในตลาดเพิ่มขึ้นก็ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงได้เช่นกัน 

ปัจจัยที่ 3 คือช่วงฤดูกาลและสภาพภูมิอากาศ เพราะในแต่ละฤดูกาลมีความต้องการใช้น้ำมันที่แตกต่างกันออกไป เช่น ในฤดูหนาวก็ต้องใช้พลังงานเพื่อสร้างความอบอุ่นในที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ ที่อุณหภูมิค่อนข้างต่ำมาก  จึงทำให้ความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มก็จะทำให้น้ำมันราคาขึ้นและแพงกว่าในฤดูร้อนหรือฤดูอื่นนั่นเอง 

ปัจจัยที่ 4 คือปัจจัยทางภูมิศาสตร์ เช่น สถานการณ์ความไม่สงบของประเทศผู้ผลิตน้ำมันอย่างที่เป็นข่าวในปัจจุบัน เช่น รัสเซียและยูเครน ก็จะทำให้เกิดอุปสรรคในการขนส่งน้ำมันเข้าสู่ตลาดและทำให้ราคาน้ำมันขึ้นนั่นเอง 

ปัจจัยที่ 5 คือ อัตราการแลกเปลี่ยน เพราะถ้าเกิดการแข็งค่าขึ้นหรืออ่อนตัวลงของสกุลเงินหลักกับสกุลเงินท้องถิ่นที่ซื้อขายน้ำมัน ก็จะทำให้ต้นทุนการซื้อขายน้ำมันเปลี่ยนแปลงไปด้วย 

ปัจจัยที่ 6 ที่มีส่วนทำให้ราคาน้ำมันแพงขึ้นหรือถูกลงคือเทคโนโลยีการผลิตพลังงานทดแทน เพราะหากเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่ผลิตได้พอเพียงต่อการใช้งานน้ำมัน ก็จะทำให้ความต้องการน้ำมันลดลงและราคาน้ำมันก็จะปรับลดลงนั่นเอง 

นอกจากนี้ ก่อนจะเทียบราคาน้ำมันขายปลีกในบ้านเรากับต่างประเทศ เราควรทำความเข้าใจเรื่องต้นทุน การคิดราคาไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างราคาน้ำมันที่ประกอบไปด้วยค่าการกลั่น ค่าภาษี ค่ากองทุน ค่าบริหารจัดการต่าง ๆ หรือเรื่องคุณภาพของน้ำมัน เช่น น้ำมันไทยกำหนดมาตรฐานคุณภาพขั้นต่ำไว้ที่ 4 ยูโร  ซึ่งมีส่วนช่วยลดการปล่อยมลพิษได้ดีกว่า ก็ย่อมส่งผลต่อต้นทุนที่สูงกว่าน้ำมันในประเทศเพื่อนบ้านที่กำหนดขั้นต่ำไว้แค่ 2 ยูโร เป็นต้น

 

องค์กรพลังงานไทยคือผู้ที่ทำให้น้ำมันแพงจริงหรือไม่ ?

พี่วาฬตอบข้อสงสัยทำไมราคาน้ำมันขึ้นและน้ำมันแพง?, Whale Energy Station

พอมาถึงตรงนี้ บางคนอาจจะยังตั้งคำถามต่อว่า องค์กรพลังงานในไทยเป็นผู้ที่ทำให้ราคาน้ำมันแพงขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองหรือไม่? ทำไมต้องนำเข้าน้ำมันให้ต้นทุนแพงขึ้น ทั้งที่เราก็ส่งออกได้ด้วยซ้ำ?   พี่วาฬก็ขออธิบายความจริงว่า หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าประเทศไทยเราต้องนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้งานของประชาชนในประเทศ และถึงแม้ว่าเราจะสามารถขุดน้ำมันในประเทศไทยได้ แต่น้ำมันที่ขุดได้บางส่วนนั้นก็ไม่เหมาะกับเทคโนโลยีโรงกลั่นในประเทศนั่นเอง ประกอบกับโครงสร้างราคาน้ำมันของแต่ละประเทศที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อราคาน้ำมันทั้ง 6 ข้อจึงทำให้ราคาน้ำมันของประเทศไทยอาจจะแพงหรือขึ้นราคาบ่อยครั้งในช่วงนี้นั่นเอง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าทุกอย่างเป็นไปตามกลไกราคาตลาดและอยู่ภายใต้การกำกับควบคุมดูแลของรัฐ บริษัทพลังงานในไทยไม่ได้มีสิทธิ์ขึ้นราคาได้ตามใจแต่อย่างใด

ครั้งหน้าพี่วาฬจะมีสาระอะไรเกี่ยวกับน้ำมันหรือพลังงานอื่นๆ มาเล่าให้ทุกคนฟังอีกก็อย่าลืมติดตามกันล่ะ

 

อ้างอิง: